หุ่นพยนต์ รีวิว

หุ่นพยนต์ รีวิว

หุ่นพยนต์ รีวิว หุ่นพยนต์ อาจจะมีจุดด้อยในส่วนของการเล่าเรื่องกับจังหวะต่าง ๆ ของหนัง แต่จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ที่ต้องยกนิ้วให้เลยก็คือองค์ประกอบงานสร้างและโปรดักชั่นดีไซน์ต่าง ๆ ที่สอดแทรกเข้ามาในการสร้างบรรยากาศความน่ากลัวให้กับผู้ชม ที่ถือว่ามีส่วนทำปฏิกิริยาของคนดูได้ดี หุ่นพยนต์ โดยเฉพาะการเนรมิตเซ็ตฉากต่าง ๆ ในพื้นที่วัดเทพยนต์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าเทวสถาน หรือ ลานรูปแบบพระพุทธรูป เป็นโลเคชั่นที่ทำงานกับต่อมความกลัวได้ดี

ขณะที่มุมภาพ มุมกล้อง และการแต่งสีโทนภาพต่าง ๆ ของหนังเรื่องนี้ถือว่าทำออกมาได้ดีเช่นกัน เป็นองค์ประกอบเล็ก ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนและสร้างบรรยากาศให้กับหนังเรื่องนี้ได้อย่างดี ดังนั้นในภาพรวมแล้ว หุ่นพยนต์ ก็ถือว่าเป็นหนังสยองที่อาจจะมีศักยภาพที่จะสามารถทำออกมาเป็นเฟรนไชส์ใหม่ได้ไม่ยาก เพราะยังสามารถนำเอาไปต่อยอดได้อีกไกลเช่นกัน เพียงแต่เสน่ห์และความสดใหม่ของหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ค่อยข้างสุกสกาวมากเท่าไหร่ เพราะดันไปซ้ำกับความรู้สึกเดิม ๆ แบบที่ พี่นาค หรือ ลองของ เคยทำเอาไว้และทำได้ดีมาก่อนหน้านี้แล้ว

ภาพยนตร์เล่าเรื่องของ ธาม หนุ่มรุ่นใหม่ที่ได้เดินทางไปยังเกาดอนสิงธรรม เพื่อตามหา พระธี พี่ชายของเขาที่ขาดการติดต่อไปนาน เมื่อไปถึงที่นั่นเขาก็ได้พบกับวัดเทพพยนต์ วัดที่เต็มไปด้วยความเชื่อเรื่อง หุ่นพยนต์ หุ่นดินเหนียวที่ถูกปั้นขึ้นมาโดยบรรจุเถ้าอัฐิของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อกราบไหว้บูชาด้วยความเชื่อว่าวิญญาณของพวกเขาจะคอยปกปักษ์รักษาผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ขณะที่ธามกำลังตามหาเบาะแสของพี่ชายเขา เขาก็ต้องรับมือกับเหตุการณ์แปลกประหลาดมากมายที่เข้ามาท้าทายและเปลี่ยนความเชื่อเขาไปตลอดกาล

จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้เลยก็คือ ประเด็นของเรื่องที่ท้าทายกับความเชื่อที่สะท้อนมาถึงสังคมจริง ความงมงายที่ไม่ต้องการคำอธิบาย และการตั้งคำถามกับการใช้ความเชื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเอง แม้ว่าเรื่องราวที่หนังยกมาใช้นั้นจะมีความเหนือธรรมชาติ แต่แก่นหลักของมันกลับเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นได้ดาษดื่นในทุกวัน

จุดด้อยของภาพยนตร์ก็คงจะเป็น บทของภาพยนตร์ที่อาจจะไม่ได้มีการผูกเรื่องราวให้ร้อยเป็นเรื่องเดียวกันนัก บางช่วงของเรื่องทำให้เกิดความรู้สึกว่ามันต่อเนื่องกันเท่าไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการตัดต่อที่ถูกควบคุมจนกระทบกับการนำเสนอเนื้อหา จุดด้อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแสดงของนักแสดงหน้าใหม่ที่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์มากนัก คงต้องใช้เวลาในการสั่งสมความสามารถมากกว่านี้ เพื่อให้สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครออกมาได้ดีขึ้น

หุ่นพยนต์ มีฉากที่สะท้อนภาพอีกมุมของการใช้ศาสนาและความเชื่อเมื่อผลประโยชน์ส่วนตนอยู่อย่างชัดเจนบันเทิงคลังหนังไทย, ภาพยนตร์ไทย, Thai Movie, ภาพยนตร์ไทยเต็มเรื่อง, มอญซ่อนผี,  ดูหนังFIVE STAR PRODUCTION

– ผู้กำกับหนัง’หุ่นพยนต์’ เผยฉากนี้โดนกองเซนเซอร์ตัดออก ‘ผู้หญิงที่เณรกอดคือแม่’
แต่ตัวหนังก็ไม่ได้นำเสนอมันโดยไร้ความรับผิดชอบ เพราะมีการเล่าเรื่องราวที่นำไปสู่บทสรุปที่เป็นผลจากการกระทำดังกล่าว ไม่ใช่การใส่เข้ามาเพื่อโจมตีหรือทำลายแต่อย่างใด ขณะเดียวกันบรรดาฉากที่กลายเป็นข้อหาในการทำให้หนังถูกห้ามฉาย ตัวหนังก็ได้มีการให้เหตุผลรองรับอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งทั้งหมดก็ทำให้เราเกิดความงุนงงสงสัยว่า ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงถูกห้ามไม่ให้ผู้ชมได้ดู

สำหรับฉบับที่เราได้ดูนั้นเป็น หุ่นพยนต์ ที่มีเรทการฉายที่ ฉ.20- ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมบางส่วนไม่สามารถเข้าชมได้ ผู้กำกับก็ได้อธิบายถึงความต่างระหว่างเรื่องนี้ กับ ปลุกพยนต์ ที่เป็นเรท น.18+ ว่า ตัวฉากและเรื่องราวของภาพยนตร์นั้นจะไม่มีความต่างกัน สิ่งที่จะถูกเพิ่มเข้ามาในปลุกพยนต์ก็คือ ฉากและรายละเอียดที่จะอธิบายการกระทำของตัวละครอย่างชัดเจน โดยที่ผู้ชมไม่ต้องตีความให้ผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่พวกเขาต้องการนำเสนอ

แม้ว่าตัวหนังจะถูกปรับให้สามารถฉายได้ทั้ง 2 เวอร์ชั่นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามมันก็เป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับวงการภาพยนตร์ไทยไม่น้อยที่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างหนัง ถูกจำกัดและถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง ไปพิสูจน์ด้วยสายตาและวิจารณญาณของตัวคุณเองว่าหนังเรื่องนี้เป็นอย่างไร กับ หุ่นพยนต์ และ ปลุกพยนต์ 12 เมษายนนี้ในโรงภาพยนตร์

ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในประวัติศาสตร์วงการหนังไทยไปแล้วที่มีภาพยนตร์เรื่องเดียวกันถึง 2 เวอร์ชั่นเข้าฉายในวันเดียวกัน สำหรับภาพยนตร์เรื่อง หุ่นพยนต์ และ ปลุกพยนต์ สิ่งหนึ่งที่เราเห็นความแตกต่างชัดเจนก็คือ เรทการฉายของหนังที่มีทั้ง ฉ.20- ที่ต้องตรวจบัตรประชาชนของ หุ่นพยนต์ และเรท น.18+ ไม่ตรวจบัตรประชาชนของ ปลุกพยนต์ ซึ่งถ้าสังเกตตัวความยาวของหนังแล้ว ฉบับหลังมีความยาวมากกว่าประมาณ 4 นาที งานนี้จึงอดคิดไม่ได้ว่า ความต่างกันนี้หากเลือกดูเพียงเรื่องเดียวจะทำให้ได้รับอรรถรสไม่ครบถ้วนหรือไม่?

ในช่วง Q&A ของการฉายรอบพิเศษของภาพยนตร์เรื่อง หุ่นพยนต์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ไมค์ ภณธฤต ได้อธิบายความแตกต่างของภาพยนตร์ทั้ง 2 เวอร์ชั่นว่า ในฉบับ น.18+ (ปลุกพยนต์) ได้มีการใส่คำอธิบายทั้งเหตุและผลของการกระทำที่มีความชัดเจนกว่าฉบับ ฉ.20- (หุ่นพยนต์) โดยที่เนื้่อเรื่อง หรือใจความหลักของภาพยนตร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่แต่อย่างใด

นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเลือกดูเวอร์ชั่นไหน ทุกคนก็สามารถที่จะได้รับสิ่งที่ตัวหนังต้องการนำเสนอครบถ้วน เพียงแค่ในฉบับ น.18+ จะสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเท่านั้นเอง

นอกจากนี้แล้วยังมีการให้คำแนะนำถึง คุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะพาลูก ๆ ไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันในโรงภาพยนตร์ ในกรณีที่อายุของเด็ก ๆ อาจจะไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผู้กำกับก็แนะนำให้ดู ปลุกพยนต์ ก็สามารถสนุกสนาน ได้รับข้อคิด และความบันเทิงที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนถ้าใครอยากจะดูภาพยนตร์ในฉบับที่เปิดกว้างให้สามารถตีความเรื่องราวบางส่วนได้ตามแต่วิจารณญาณของตนก็คงต้องเป็นเวอร์ชั่น หุ่นพยนต์ แทน

สืบเนื่องจากกรณีที่ หุ่นพยนต์ ภาพยนตร์สยองขวัญจากค่าย Five Star Production และกำกับโดย ไมค์-ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้จัดฉายในเรต ฉ 20- หรือห้ามมิให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีรับชม จึงทำให้ทางค่ายตัดสินใจเลื่อนกำหนดฉายภาพยนตร์ออกไปไม่มีกำหนด จากเดิมที่มีกำหนดฉายในวันที่ 9 มีนาคม เพื่อให้ทีมสร้างปรับแก้เนื้อหาให้เหมาะสมกับเรต ฉ 20-

ล่าสุดวันนี้ (27 มีนาคม) Five Star Production

ประกาศวันฉายใหม่ของภาพยนตร์อย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายนนี้ พร้อมเปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่เป็น ปลุกพยนต์ รวมถึงได้รับการจัดเรตฉายใหม่เป็น น 18+ หรือเป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และจะไม่มีการตรวจบัตรประชาชนก่อนเข้าชมหุ่นพยนต์ เรื่องย่อ หนังผีไทย

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม ภาพยนตร์ หุ่นพยนต์ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้จัดฉายในเรต ฉ 20- เนื่องจากภาพยนตร์มีเนื้อหาที่อาจเป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทย

โดยทางคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มอบหมายให้ทีมสร้างดำเนินการแก้ไขตัดทอนเนื้อหาของภาพยนตร์จำนวน 6 ข้อ ประกอบด้วย

ตัดฉากชื่อวัดเทพหุ่นพยนต์
ตัดฉากเณรชกต่อยในผ้าเหลือง และให้มีคำหยาบคายน้อยลงเท่าที่จะสามารถทำได้
ตัดฉากคลุกอาหาร เหมือนรังแกให้เด็กชื่อเต๊ะกิน
ตัดฉากเณรกอดผู้หญิงในการต่อสู้ฉากหนึ่งในภาพยนตร์
ตัดฉากท่องศีล (ข้อที่ 2) ในขณะที่ฆ่าคนที่ขโมยของ
มีข้อสังเกตว่าพระหรือเณรในเมืองไทยต้องโกนคิ้ว แต่ทั้งเรื่องไม่มีพระหรือเณรที่โกนคิ้วเลย
ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

ภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องราวของ ธาม (ภูวิน-ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน) ชายหนุ่มที่ออกเดินทางมาพบ พระธี (ปราชญ์-ปราชญ์รวี สีเขียว) พี่ชายที่บวชเป็นพระอยู่ที่วัดบนเกาะดอนสิงธรรม ซึ่งมีความเชื่อเรื่องหุ่นพยนต์ที่ปลุกเสกหุ่นด้วยคาถาอาคม เพื่อแจ้งข่าวการเสียชีวิตของพ่อแม่ แต่เมื่อธามไปถึงพระธีกลับหายตัวไปอย่างเป็นปริศนา อีกทั้งเณรและชาวบ้านยังบอกกับเขาอีกว่า พระธีคือผู้ลงมือสังหารเจ้าอาวาสวัด ธามจึงต้องออกตามหาความจริงของพี่ชาย ซึ่งจะพาเขาไปพบกับเหตุการณ์ประหลาดมากมาย

นอกจากชื่อของผู้กำกับ ไมค์-ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ภาพยนตร์ยังคับคั่งด้วยทีมนักแสดงรุ่นใหม่น่าจับตามองมาร่วมเสริมทัพ นำโดย ภูวิน-ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน, นิก-คุณาธิป ปิ่นประดับ, อัพ-ภูมิพัฒน์ เอี่ยมสำอาง, เจมส์-ภูริพรรธน์ เวชวงศาเตชาวัชร์ และ เอมี่-ทสร กลิ่นเนียม

ผู้กำกับเคลียชัด ไขข้อสงสัย ‘ปลุกพยนต์’ กับ ‘หุ่นพยนต์’ ต่างกันอย่างไรบ้าง เผยระดับเรทความรุนแรง ความยาวภาพยนตร์ และรอบวันฉายทั้งสองเวอร์ชั่น

ทีมงาน Thaiger ชวนผู้อ่านเตรียมตัวดูภาพยนตร์ไทยสยองขวัญแห่งยุคกับเรื่อง ‘ปลุกพยนต์’ เข้าโรงฉายแล้ววันนี้ พุธที่ 12 เมษายน 2566 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ของขลัง และศรัทธาของหมู่บ้าน ดอนสิงธรรม ที่มีความเชื่อว่าหากใครเสียชีวิตให้นำกระดูกมาใส่ไว้ในหุ่นเพื่อให้คนที่นี่ได้กราบไหว้บูชา เพราะเชื่อกันว่าจะหุ่นพยนต์จะคอยปกปักรักษาคุ้มครองให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข จนกระทั่งได้เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาด เมื่อพี่ชายของ ธาม ได้มาบวชศึกษาพระธรรมก่อนที่จะหายสาบสูญ การค้นหาจึงเริ่มต้นขึ้น พร้อมกับเรื่องราวชวนสยองกับความลับพิธีกรรมโบราณที่ค่อย ๆ ถูกเปิดเผยออกมา

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแก้ไขตัวบทหนัง รวมไปถึงกำหนดการเข้าฉายอย่างเป็นทางการ เนื่องจากว่าภาพยนตร์ในชื่อเดิมว่า “หุ่นพยนต์” ไม่ผ่านกองเซ็นเซอร์ในด้านเรทความรุนแรง จนสุดท้ายต้องทำออกมาเป็นเวอร์ชั่น “ปลุกพยนต์” ที่เข้าฉายแล้วในวันพุธที่ 12 เมษายน 2566 ต้อนรับเทศกาลวันสงกรานต์ 2566 ปีนี้

ก่อนอื่นเลย จากชื่อเรื่อง “พยนต์” หมายถึง สิ่งที่ผู้มีอาคม ปลุกเสก ให้มีชีวิตขึ้นมา เพื่อใช้งาน หุ่นพยนต์ ก็คือ หุ่นที่ผู้มีอาคม ทำขึ้นมา แล้วเสกเป่า เป็นความเชื่อ ทางด้านไสยศาสตร์โบราณ ที่เรียกว่า วิชาผูกหุ่น โดยสิ่งที่นำมาเป็นหุ่น ก็จะเป็นพวก ขี้ผึ้ง ดินเหนียว ไม้ไผ่ ทั้งนี้หุ่นพยนต์ มีทั้งสายขาว และสายดำ เหมือนในเรื่อง ที่มีการยกภัยพยนต์ เช่น หุ่นที่ใช้ทำเสน่ห์ ซึ่งถือเป็น วิชาสายดำ

puracash